Thursday, January 13, 2011

The Pianist [สงคราม ความหวัง บัลลังก์เกียรติยศ]

ชื่อเรื่อง ภาษาอังกฤษ : The Pianist
ชื่อไทย : สงคราม ความหวัง บัลลังก์เกียรติยศ
ความ ยาว/Length :  148 นาที/minute

นักเปียโน วลาดิสลอว์ ซพิลแมน (เอเดรียน โบรดี้) มีงานเล่นเพลงที่สถานีวิทยุ ในกรุงวอร์ซอว์ตามปกติ แม้ว่าจะเป็นช่วงที่พวกทหารนาซี จะบุกเข้ามาโปแลนด์หลายสัปดาห์แล้ว เขาต้องเดินข้ามศพคน และซากม้าตายจำนวนมาก กว่าจะไปถึงสถานีวิทยุ จนกระทั่งบ่ายวันหนึ่ง ขณะที่เขากำลังเล่นเพลงของโชแปงอยู่นั้น ห่าระเบิดของฝ่ายศัตรู ก็ถล่มลงมาในเมืองเสียหายยับเยิน หลายวันต่อมา วอร์ซอว์ตกเป็นของนาซี แม้ว่าจะรู้ดี ถึงสิ่งที่จะเกิดตามมาภายหลังจากนี้ แต่เขาก็ยังเชื่อว่า ทุกอย่างจะต้องเรียบร้อย เมื่ออังกฤษกับฝรั่งเศสประกาศสงครามกับเยอรมัน



ทหารนาซีสั่งให้ชาวยิวจำนวน 360,000 คน ในกรุงวอร์ซอว์ ต้องสวมปลอกแขนระบุเชื้อชาติ และย้ายออกจากบ้าน ไปอยู่อย่างแออัดในเขตพื้นที่อันจำกัด ซพิลแมนก็ยังคงเชื่อว่า เขาสามารถรับมือกับสถานการณ์ได้ ตราบเท่าที่ปฏิบัติตามกฏ และมองโลกในแง่ดีต่อไป เขาได้ใบประกาศนียบัตร รับรองการทำงานเป็นนักเปียโน ในร้านอาหารเฉพาะชาวยิว และพยายามสร้างความมั่นใจให้กับทุกคนด้วยคำพูดว่า “ไม่ต้องห่วง อีกไม่นานทุกอย่างก็กลับคืนสู่ภาวะปกติ”

ต่อมาในเดือนสิงหาคมปี 1942 ครอบครัวของเขา ถูกส่งตัวขึ้นรถไฟไปยังค่ายกักกัน แต่เขาได้รับความช่วยเหลือช่วงนาทีสุดท้าย ให้อยู่ในกรุงวอร์ซอว์ต่อไป จากเพื่อนคนหนึ่งประจำกรมตำรวจ หลังจากนั้น ซพิลแมนก็ต้องหลบๆ ซ่อนๆ อยู่ในเมืองที่กำลังจะพังพินาศ ด้วยน้ำมือสงคราม ไม่มีอะไรจะกิน และป่วยเป็นโรคสารพัด เป็นเวลานานที่เขาต้องอาศัยอย่างแร้งแค้น อยู่ในบ้านร้างหลังหนึ่ง ก่อนต่อมาจะถูกค้นพบ โดยนายทหารเยอรมัน ร้อยเอก วิล (โธมัส เครทชมานน์) ผู้ยื่นข้อเสนอว่าจะนำอาหารมาให้ หากเขายอมเล่นเปียโนให้ฟังเป็นการตอบแทน

The Pianist ดัดแปลงมาจากงานเขียนเชิงอัตชีวประวัติของ วลาดิสลอว์ ซพิลแมน อดีตนักแต่งเพลงและนักดนตรีชื่อดัง ในแวดวงวิทยุกระจายเสียงของโปแลนด์ เขามีอายุไม่ถึง 30 ปี ตอนที่ทหารนาซีเริ่มบุกเข้ามาในปี 1939 หนังสือของซพิลแมนภายใต้ชื่อ Death of the City ตีพิมพ์ออกเผยแพร่เมื่อปี 1946 แต่ไม่นานก็ถูกรัฐบาลคอมมิวนิสต์สั่งแบน เนื่องจากมันแสดงให้เห็นภาพ ทั้งด้านดีและด้านร้ายของผู้คนทุกเชื้อชาติ ไม่ว่าจะเป็นชาวโปแลนด์ ยิว หรือกระทั่งนาซีเยอรมัน ต่อมาหนังสือก็ถูกนำมาตีพิมพ์ใหม่อีกครั้งในปี 1998 หรือสองปีก่อนหน้าผู้แต่งจะเสียชีวิต ภายใต้ชื่อ The Pianist

ผู้กำกับ โรมัน โปลันสกี้ (Tess, Chinatown, Rosemary's Baby) เชื่อว่า The Pianist คือหนังที่สะท้อนภาพแท้จริง ของชะตากรรมคนยิวในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ตรงตามความเป็นจริง มากกว่าหนังเรื่องใดๆ รวมทั้ง Schindler's List ซึ่งโปลันสกี้เคยตอบปฏิเสธคำขอร้องของสปีลเบิร์ก ที่จะให้เขากำกับหนังเรื่องนี้ เนื่องจาก Schindler's List เป็นเรื่องราวของคน ซึ่งจงใจจะช่วยเหลือชาวยิว จากการถูกสังหารหมู่ ขณะที่ประสบการณ์ส่วนตัว ของโปลันสกี้เองกลับบอกว่า โชคชะตาและความบังเอิญต่างหาก ที่เล่นบทบาทสำคัญในการรอดชีวิต ของชาวยิวส่วนใหญ่

ภาพยนตร์เรื่อง The Pianist ได้รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมมาจาก 3 สถาบันประกอบด้วย National Society of Film Critics, San Francisco Critics Circle และ Boston Film Critics โดย เอเดรียน บรอดี้ ได้รับรางวัลนักแสดงชายยอดเยี่ยม จากสถาบันเดียวกัน พร้อมทั้งผู้กำกับ โรมัน โปลันสกี้ ก็ได้รับรางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมด้วย หลังจากนั้น The Pianist ถูกเสนอเข้าชิง 7 รางวัลออสการ์ โดยมี 4 สาขาใหญ่คือ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, นักแสดงชายยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม และบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมของ โรนัลด์ ฮาร์วูด รวมอยู่ด้วย ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ก็คว้ามาได้ 3 รางวัลหลังมาครอบครองได้สำเร็จ

Monday, January 3, 2011

A Bridge Too Far [สะพานนรก] (1977)


ชื่อเรื่อง ภาษาอังกฤษ : A Bridge Too Far
ชื่อไทย : สะพานนรก
ความ ยาว/Length :  176 นาที/minute



การทำสงครามนั้น เป็นปกติที่จะมีแพ้มีชนะบ้าง อย่างใน สงครามโลกครั้งที่สอง นั้น กว่าสัมพันธมิตรจะชนะเยอรมันได้ ก็ใช้เวลาและกำลังคนไปมาก และเป็นธรรมดาที่จะแพ้ในการรบบางครั้งบ้าง

การจะพ่ายแพ้เพราะเหตุสุดวิสัย เช่น ถูกจู่โจมโดยไม่รู้ตัว การขาดแคลนอาวุธยุทธปัจจัย ฯลฯ ก็คงเป็นเรื่องปกติที่น่าเห็นใจจริงๆ แต่หากจะต้องพ่ายแพ้เพราะการวางแผนที่ผิดพลาด การละเลยข้อมูลข่าวสารที่สำคัญ เห็นๆ ย่อมเป็นความพ่ายแพ้ที่น่าอัปยศอดสู ที่แย่คือเหตุแห่งความพ่ายแพ้มักมาจากความผิดพลาดของผู้บัญชาการระดับบิ๊กๆ แต่ผู้รับกรรมย่อมไม่พ้นทหารชั้นผู้น้อยทั้งหลายทั้งปวง

Operation Market Garden ที่เป็นเหตุการณ์ในภาพยนตร์เรื่อง A Bridge Too Far ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้มีบรรยากาศที่แตกต่างจากชัยชนะของสัมพันธมิตรใน เรื่อง The Longest Day อย่างสิ้นเชิง (ทั้งสองเรื่องนี้ เดิมเป็นหนังสือสารคดีสงคราม เขียนโดย Cornelius Ryan ) ยุทธการครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากทีสัมพันธมิตรประสบความสำเร็จจากการยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี ในเดือนมิถุนายน 1944 (พ.ศ.2487) และรุกคืบเข้าปลดปล่อยฝรั่งเศสได้เป็นที่เรียบร้อย แต่ปัญหาก็ตามมาเนื่องจากเส้นทางส่งกำลังบำรุงที่ยาวขึ้น ความขัดแย้งระหว่างนายพลคนสำคัญของนายคือ มอนต์โกเมอร์รี่ที่นำทัพอยู่ทางเหนือ และนายพลแพตตัน ที่คุมกำลังทางใต้ และความปรารถนาที่หาทางเผด็จศึกโดยเร็วเพื่อให้ทหารได้กลับบ้านในวันคริ สมาสต์ ในเดือนกันยายน 1944 นายพลมอนต์โกเมอรรี่จึงหารือกับนายพลไอเซนฮาวร์ในการที่จะเปิดฉากการรุกเข้า ไปในฮอลแลนด์ ตามแผนยุทธการ Market Garden

ยุทธการดังกล่าว ประกอบด้วยกำลังสองส่วนใหญ่ คือ

กำลังพลร่ม 3 กองพล จะไปกระโดดร่มหลังแนวข้าศึกเพื่อ ยึดสะพานสำคัญ 3 สะพานพร้อมกันจากใต้ไปเหนือ คือ กองพลพลร่มสหรัฐฯ ที่ 101 ยึดสะพานไอฮูเวน กองพลพลร่มสหรัฐฯ ที่ 82 ยึดสะพานไมนีเกน และกองพลพลร่มอังกฤษที่ 1 ยึดสะพานอาร์นเฮม หน่วยทั้งสามจะต้องยึดเป้าหมายไว้ท่ามกลางวงล้อมข้าศึกจนกว่ากำลังหนุนจะมา ถึง
ทหารม้ากองพลน้อยที่ 30 ของอังกฤษ จะฝ่าแนวป้องกันของเยอรมันจากทางใต้เข้าไปช่วยเหลือทหารพลร่มทั้งสามหน่วยจากใต้ไปเหนือตามลำดับ